INTERREGNUM 14 | ส.ว. มีไว้ทำไม? (4)
The Progressive Podcast - A podcast by The Progressive Podcast

Categories:
รายการ Interregnum ซีรีส์ “ส.ว.มีไว้ทำไม” เดินทางทางมาถึงตอนที่ 4 แล้ว! ในตอนนี้ ปิยบุตร แสงกนกกุล บรรยายถึงประวัติศาสตร์วุฒิสภาไทย โดยเริ่มต้นจากช่วงปี พ.ศ. 2475-2490 ตั้งแต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ในรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 เปลี่ยนมาเป็นพฤฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ 2489 และกลายมาเป็นวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ 2490 และ 2492 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 เป็น “เดิมพัน” การต่อสู้ระหว่างฝ่ายคณะราษฎรและฝ่ายกษัตริย์นิยม จนกลายเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละราชสมบัติในปี 2477 ต่อมา จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ผลักดันให้มีการขยายระยะเวลาของ ส.ส. ประเภทที่ 2 ออกไปอีก 10 ปี จนกระทั่งรัฐธรรมนูญ 2489 ได้เข้ามาขจัดปัญหาเรื่อง ส.ส. สองประเภทออกไป โดยสร้างระบบสองสภาขึ้นมาแทน ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม อย่างไรก็ตาม ฝ่ายอนุรักษ์นิยมยังเห็นว่าพวกของตนไม่ได้เข้าไปมีบทบาทในพฤฒิสภามากเท่าที่ควร ในท้ายที่สุดหลังรัฐประหาร 2490 รัฐธรรมนูญ 2490 และ 2492 ก็ได้เปลี่ยนแปลงที่มาของวุฒิสภาเสียใหม่ ให้มาจากการแต่งตั้ง และวุฒิสภาก็กลายเป็น “ฐานที่มั่น” สำคัญของฝ่ายอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยม ฟังรายการ Interregnum ได้หลายช่องทางทั้ง Apple Podcasts / SoundCloud / Spotify / Google Podcast / Youtube