WiTThai – s03e07 “Food Safety” คุยเรื่องความปลอดภัยอาหารกับ อ. ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ และอ. ประเวทย์ ตุ้ยเต็มวงศ์
WiTcast - A podcast by WiTcast

Categories:
คำถามจากทางบ้าน ที่เรารวบรวมไปถามผู้เชี่ยวชาญ สเต็กเนื้อ ข้างในดิบ เสี่ยงหรือไม่? เนื้อไก่มีฮอร์โมนทำให้นมใหญ่จริงหรือ? ความปลอดภัยตลาดสด vs ซูเปอร์มาร์เก็ต เนื้อหมูที่กลายเป็นสีเขียว ยังกินได้หรือไม่? น้ำประปา สะอาดแค่ไหน? ปลาดิบสิบบาท ปลอดภัยหรือไม่? กิน Street Food บ่อยๆ แล้วลำไส้สตรองจริงหรือ? ฟังคำตอบแบบเนื้อๆ เน้นๆ ได้ในตอน รายการ WiTThai ตอนนี้ได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญหลักคือ รศ.น.สพ.ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ จากภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากสอนที่คณะแล้วอาจารย์ยังเป็นผู้ประสานงานโครงการวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยอาหารให้กับสกสว. และเป็นผู้ดูแลศูนย์ความเสี่ยงอาหาร (Food Risk Hub) ด้วย และในตอนนี้ยังมีอาจารย์ด้าน Food Science อีกท่านที่ให้เกียรติมาช่วยเสริมความรู้ ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และการติดต่อผ่านพฤติกรรมกินอาหาร รศ.ดร.ประเวทย์ ตุ้ยเต็มวงศ์ จากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คำถามอย่าง โควิด-19 ติดผ่านการกินได้ด้วยหรือ? กินร้อน กินเย็น กินที่บ้าน กินนอกบ้าน สั่งมาส่ง ฯลฯ ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับระดับความเสี่ยงอย่างไรบ้าง ต้องลองฟังอาจารย์ตอบคำถามในช่วงท้ายรายการครับ สนับสนุนรายการโดย: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พิธีกรประจำตอน: ดร. แทนไท ประเสริฐกุล, อาบัน สามัญชน ภาพปกโดย: แพรพลอย ดีศิลปกิจ วิดิโอคลิปจากการสนทนาบางส่วน https://youtu.be/YrNBwN_K6iE https://youtu.be/jCDswRSfKTA งานวิจัยที่พูดถึงในตอน ชุดโครงการวิจัย ความมั่นคงอาหาร ของสกสว. ดาวโหลดเอกสารวิชาการเพื่ออ่านเพิ่มเติมได้ตามลิงค์เลยครับ ตัวอย่างงานวิจัยในชุดโครงการ การวิเคราะห์ความเสี่ยงทางจุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง มาตรฐานความปลอดภัยสินค้าตลอดห่วงโซ่การผลิต เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยอาหาร: ผัก มาตรฐานความปลอดภัยอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิตเพื่อสนับสนุน การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยอาหาร: สุกร มาตรฐานสินค้าอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิตเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยอาหาร: โคเนื้อ มาตรฐานความปลอดภัยอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิตเพื่อสนับสนุน การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยอาหาร: น้ำนม งานวิจัยเรื่องความปลอดภัยอาหารทะเล การปนเปื้อนโลหะหนักในสัตว์น้ำจากสะพานปลาท่าเทียบเรือ ข้อมูลพยาธิ Anisakis จาก CDC เอกสารของ FAO เรื่องไมโครพลาสติก